สร้างชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาที่ดีขึ้นสำหรับ App Campaign

ไฟล์ชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาคือองค์ประกอบที่ App Campaign ใช้ในการสร้างโฆษณา เราจึงขอแนะนำบทความนี้ที่นำเสนอแนวทางปฏิบัติแนะนำในการสร้างชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณา ทั้งในรูปแบบข้อความ รูปภาพ วิดีโอและ HTML5 ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและการเข้าถึงของ App Campaign ได้ แต่หากต้องการคำแนะนำทางเทคนิคเพิ่มเติม เช่น ข้อกำหนดของชิ้นงานที่ App Campaign ยอมรับ โปรดดูวิธีสร้าง App Campaign

คำแนะนำในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางชี้นำเท่านั้น เนื่องจากแต่ละแคมเปญต่างกัน จึงรับประกันประสิทธิภาพไม่ได้แม้ว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั้งหมดแล้วก็ตาม เราขอแนะนำให้ตรวจสอบรายงานชิ้นงานเป็นประจำ

เนื้อหาโฆษณาทั้งหมดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ด้านนโยบายและหลักเกณฑ์โฆษณาที่ปรับตามโปรไฟล์ของผู้ใช้

คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับชิ้นงาน

ปรับให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ภาพลักษณ์ และรูปแบบของแบรนด์

แม้ว่าหลักเกณฑ์เหล่านี้จะมีส่วนในความสำเร็จของผู้ลงโฆษณา แต่ธุรกิจแต่ละแห่งก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง คุณจึงควรประเมินแนวทางปฏิบัติแนะนำทุกอย่างตามความต้องการของธุรกิจ และต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แคมเปญ

ปรับให้สอดคล้องกับเป้าหมายแคมเปญ

ชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาควรสอดคล้องกับเป้าหมายเฉพาะของ App Campaign เช่น

  • หากต้องการเพิ่มยอดการติดตั้ง ชิ้นงานควรแสดงถึงการติดตั้ง (ตัวอย่างเช่น โฆษณาแบบข้อความที่แจ้งให้ผู้ใช้ "ดาวน์โหลดเลย" หรือ "เล่นเลย")
  • หากต้องการกระตุ้นยอดซื้อ ชิ้นงานควรแสดงการลดราคา ส่วนลด หรือสินค้าที่ให้ซื้อ (ตัวอย่างเช่น "รับส่วนลด 150 บาทเมื่อสั่งซื้อครั้งแรก" หรือรูปภาพที่แสดงโปรโมชัน)
  • หากต้องการเพิ่มยอดการรักษาผู้ใช้หรือการกลับมามีส่วนร่วม ชิ้นงานควรไฮไลต์ช่องทางระดับล่างหรือฟีเจอร์ที่เพิ่งเปิดให้ใช้งานเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้โต้ตอบ (ตัวอย่างเช่น "สินค้าใหม่กว่า 100 รายการ" หรือวิดีโอแสดงเกมเพลย์ที่อัปเดตใหม่)

ปรับให้สอดคล้องกับธีมของโฆษณาแต่ละกลุ่ม หากมี

กลุ่มโฆษณาใน App Campaign ช่วยให้คุณ "จัดกลุ่ม" ชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาตามลักษณะเด่นของแอป ข้อความที่ต้องการไฮไลต์ หรือกลุ่มประชากรของผู้ใช้ที่ต้องการดึงดูด ชิ้นงานควรแสดงลักษณะ ข้อความ และความต้องการของผู้ใช้ที่โดดเด่นเหล่านั้น (เช่น อัปโหลดครีเอทีฟโฆษณาธีมซูชิในกลุ่มโฆษณาหนึ่งเพื่อดึงดูดคนรักซูชิ และครีเอทีฟโฆษณาธีมพิซซ่าในอีกกลุ่มโฆษณาหนึ่งสำหรับผู้ที่ชอบสั่งอาหารเดลิเวอรี)

ออกแบบชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาให้หลากหลาย

ชิ้นงานที่หลากหลายช่วยให้ App Campaign สร้างโฆษณาที่ตรงใจผู้ใช้กลุ่มต่างๆ ได้มากขึ้น และยังช่วยให้โฆษณามีสิทธิ์แสดงในช่องทางโฆษณาต่างๆ กว้างขวางขึ้นด้วย ในการเพิ่มชุดค่าผสมและตำแหน่งของโฆษณา เราขอแนะนำให้อัปโหลดชิ้นงานแต่ละประเภทให้ครบจำนวนสูงสุดที่อนุญาต นั่นคือ โฆษณาแบบข้อความไม่เกิน 4 รายการ และโฆษณาแบบรูปภาพ วิดีโอ และ HTML5 20 รายการ ซึ่งอาจช่วยลดความผันผวนของประสิทธิภาพเมื่อรีเฟรชชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาได้

Google Ads จะไม่แปลโฆษณา ดังนั้นคุณควรเลือกภาษาที่ถูกต้องเมื่อสร้างแคมเปญ แล้วเลือกประเทศทั้งหมดที่กลุ่มเป้าหมายพูดภาษาเหล่านั้นได้ เมื่อกำหนดเป้าหมายในวงกว้าง คุณจะเข้าถึงผู้ใช้ที่บรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น และให้ข้อมูลสำหรับปรับแต่งแคมเปญมากขึ้นแก่โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงของเรา

ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

ชิ้นงานควรใช้ข้อความเชิงสนทนาในบรรทัดแรกและคำอธิบาย ภาพที่จดจำได้ง่าย รวมทั้งเสียงที่มีเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้

หมายเหตุ: นโยบายของ Google ระบุว่าระบบจะไม่อนุมัติรูปภาพหากคำว่า "ดาวน์โหลด" หรือ "ติดตั้ง" ซ้อนทับรูปภาพ

หาชิ้นงานใหม่มาแทนชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพต่ําอยู่ตลอดเวลา

ติดตามรายงานชิ้นงานอย่างใกล้ชิด หลังจากออกจากสถานะ "กําลังเรียนรู้" แล้ว จะมีป้ายกํากับที่ระบุอันดับชิ้นงานเป็น "ต่ํา" "ดี" หรือ "ดีที่สุด" หากคุณยังไม่ได้อัปโหลดชิ้นงานตามจํานวนสูงสุดที่อนุญาต ให้เพิ่มชิ้นงานที่คล้ายกับอันดับที่ "ดีที่สุด" หากคุณมีชิ้นงานครบตามจํานวนสูงสุดที่อนุญาตแล้ว ให้แทนที่ชิ้นงานที่มีอันดับ "ต่ํา" โปรดค่อยๆ ลดความผันผวนของประสิทธิภาพให้เหลือน้อยที่สุด

ใช้ชิ้นงานที่มีคุณภาพสูงสุด

เมื่อคุณส่งชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาคุณภาพสูง โฆษณาจะมีโอกาสที่จะให้ประสิทธิภาพดีในระยะยาวมากขึ้น เนื่องจากชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาคุณภาพสูงมีแนวโน้มที่จะดึงดูดความสนใจของผู้มีโอกาสเป็นลูกค้ามากกว่า อย่างไรก็ตาม ชิ้นงานครีเอทีฟโฆษณาที่มีคุณภาพต่ำกว่าอาจลดประสิทธิภาพของแคมเปญลงเนื่องจากเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้น้อยกว่า การเพิ่มคุณภาพของชิ้นงานจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าโฆษณาจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุดในทุกพร็อพเพอร์ตี้

เราได้กําหนดหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพสําหรับชิ้นงานประเภทต่างๆ ที่คุณส่งสําหรับโฆษณา

หมายเหตุ: เราประเมินเกณฑ์การกำหนดคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นแนวทางปฏิบัติแนะนำในบทความนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

เนื้อหาข้อความ

ส่งข้อความเดี่ยวๆ ที่สมบูรณ์ในตัวเอง

  • เขียนวลีเดี่ยวๆ ที่มีความยาวแตกต่างกันโดยใช้ไวยากรณ์ การสะกดคำ และเครื่องหมายวรรคตอนที่ถูกต้อง โดยที่นำไปใช้ในลำดับใดก็ได้ Google Ads จะนำวลีเหล่านี้มาผสมกันโดยอัตโนมัติเพื่อสร้างโฆษณารูปแบบต่างๆ ที่อาจปรับปรุงประสิทธิภาพได้
  • กำหนดให้แต่ละวลีมุ่งเน้นจุดขายที่โดดเด่นเพียงจุดเดียว

ใส่คํากระตุ้นการตัดสินใจที่ชัดเจน

ใช้ข้อความบนปุ่มเพื่อเน้นย้ำเป้าหมายของแคมเปญดังนี้

  • หากต้องการเพิ่มยอดการติดตั้ง ข้อความบนปุ่มควรแสดงถึงการติดตั้ง (เช่น ข้อความแจ้งให้ "ดาวน์โหลดเลย" หรือ "เล่นเลย")
  • หากต้องการกระตุ้นการซื้อ ข้อความบนปุ่มควรไฮไลต์ส่วนลด การลดราคา หรือสินค้าที่ให้ซื้อ (เช่น "รับส่วนลด 150 บาท" หรือ "ประหยัดทันที")
  • หากต้องการเพิ่มยอดการรักษาผู้ใช้หรือการกลับมามีส่วนร่วม ข้อความบนปุ่มควรไฮไลต์ช่องทางระดับล่างหรือฟีเจอร์ที่เพิ่งเปิดให้ใช้งานเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้โต้ตอบ (เช่น "สินค้าใหม่กว่า 100 รายการ" หรือ "ลองเลยวันนี้")

หลีกเลี่ยงการใช้คลิกเบตและการกล่าวเกินจริง

  • เราไม่อนุญาตให้ใช้วลี คําถาม และถ้อยคําที่กล่าวเกินจริงในลักษณะที่โน้มน้าวให้ผู้ใช้คลิกโฆษณา
  • หลีกเลี่ยงการใช้วลีที่มีการอ้างอิงไม่ชัดเจน เช่น "นี้" หรือ "เหล่านี้"

ปฏิบัติตามกฎของรูปแบบทั้งหมด

โฆษณาทั้งหมดควรปฏิบัติตามกฎของรูปแบบเพื่อไม่ให้ถูกปฏิเสธ ดูสาเหตุของการปฏิเสธโฆษณาที่พบบ่อยที่สุดพร้อมตัวอย่างดังต่อไปนี้

อย่าใช้:

  • ภาษาเร้าความสนใจ รวมถึงการใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์มากเกินพอดี (เช่น "คุณต้องไม่เชื่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปแน่นอน!")
  • อีโมจิ
  • เครื่องหมายวรรคตอนหรือสัญลักษณ์ที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้ (เช่น การใช้ "@บ้าน" เพื่อให้หมายถึง "ที่บ้าน")
  • การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่อย่างไม่เหมาะสม (เช่น “SALE, S.A.L.E., SaLe”)
  • การเว้นวรรคอย่างไม่เหมาะสม (เช่น "ขายซื้อ รองเท้าผ้าใบ" "ร อ ง เ ท้ า ผ้ า ใ บ")
  • ไวยากรณ์ไม่เหมาะสม
เคล็ดลับ: ใช้บรรทัดแรกแบบข้อความสองรายการร่วมกันไม่ได้หากทั้งคู่ลงท้ายด้วยเครื่องหมายอัศเจรีย์

ชิ้นงานรูปภาพ

ดึงดูดสายตา

การโฆษณาสะท้อนให้เห็นถึงแบรนด์ของคุณ ชิ้นงานรูปภาพควรน่าสนใจและไม่ลดความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เราขอแนะนำให้คุณอย่าใช้รูปภาพที่บิดเบี้ยว รูปทรงแปลกตา มีลักษณะซ้อนทับกัน กลับหัวกลับหาง ไม่ชัดเจน มีสีในโทนตรงข้าม หรือใช้ฟิลเตอร์มากเกินไป

รูปภาพควรมีความหนาแน่นของพิกเซลสูง

พิกเซลที่หนาแน่นยิ่งขึ้นไม่ได้ช่วยให้คุณภาพของรูปภาพดีขึ้นอย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้แสดงผลได้อย่างถูกต้องเมื่อปรับขนาดหรือแสดงบนหน้าจอความละเอียดสูงด้วย

ใช้ทั้งเฟรม

โฆษณาจะดูเป็นธรรมชาติขึ้นหากตรงกับรูปร่าง ขนาด และการวางตำแหน่งของเนื้อหาแบบเนทีฟ โดยไม่ควรมีช่องว่างระหว่างขอบของชิ้นงานรูปภาพและเฟรม

จำกัดพื้นที่ว่างในรูปภาพ

ไม่ควรมีพื้นที่ว่างเกิน 80% ในรูปภาพใดๆ หัวเรื่องของรูปภาพควรเป็นจุดดึงดูดและควรใช้พื้นที่มากขึ้นเพื่อให้สะดุดตาและมองเห็นได้ง่ายขึ้นในหน้าจอขนาดเล็ก

อย่าวางข้อความ โลโก้ หรือคํากระตุ้นการตัดสินใจในรูปภาพ

ข้อความที่วางซ้อนไม่ควรเด่นกว่ารูปภาพ ตามหลักการแล้ว ข้อความหรือโลโก้ควรผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับรูปภาพ เช่น อยู่ในบรรจุภัณฑ์ เสื้อผ้า ป้าย บิลบอร์ด ฯลฯ หากวางข้อความหรือโลโก้ให้ซ้อนทับ ก็ควรออกแบบไม่ให้สะดุดตาไปกว่ารูปภาพ รูปภาพที่มีเนื้อหาที่วางซ้อนเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยจะได้ประโยชน์จากการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า โดยรวมแล้ว เราขอแนะนําให้จํากัดองค์ประกอบที่ซ้อนไว้เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ของรูปภาพน้อยกว่า 20%

เคล็ดลับ: อัปโหลดรูปภาพที่ไม่มีข้อความหรือโลโก้ซ้อนทับเพื่อให้แสดงได้ในหลายช่องทาง

หลีกเลี่ยงการใช้คลิกเบตและคำกล่าวเกินจริงในรูปภาพ

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาพหรือข้อความในภาพที่ดึงดูดให้ผู้ใช้คลิกผ่านเนื้อหาที่สร้างความตื่นตระหนกหรือไม่เหมาะสม เช่นเดียวกับเนื้อหาข้อความ

โฆษณาวิดีโอ

ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการใช้แอปให้มากกว่าเรื่องราว

แม้ว่าการสร้างอารมณ์ร่วมและการเล่าเรื่องยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่วิดีโอก็ควรนำเสนอประสบการณ์ในการใช้แอปตั้งแต่เนิ่นๆ จัดเฟรมภาพให้เน้นเฉพาะส่วนสำคัญ (ภาพระยะใกล้ของตัวละครในโฆษณาและ UI) เพื่อช่วยให้ผู้ชมจดจ่ออยู่กับฟีเจอร์ที่ใช้ได้ในแอปและประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับ

ดึงดูดความสนใจของผู้ชม

  • ผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่สนใจในสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน คุณจึงควรพยายามดึงดูดความสนใจให้ได้ภายใน 2 ถึง 3 วินาทีแรก การวิจัยของเราพบว่าโฆษณาวิดีโอในแอปที่ประสบความสำเร็จนั้นเปลี่ยนฉากมากกว่า 2 ครั้งภายใน 5 วินาทีแรกโดยเฉลี่ย ซึ่งจะช่วยให้สัมผัสประสบการณ์แอปได้อย่างมีไดนามิก
  • เสียงเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งในการดึงดูดผู้ใช้ได้ง่ายๆ ฉะนั้นลองใช้เสียงและเพลงเพื่อเน้นการสร้างแบรนด์และคำกระตุ้นการตัดสินใจ คุณควรเพิ่มคำบรรยายเสียงวิดีโอเนื่องจากพื้นที่โฆษณาบางแห่งปิดเสียงตามค่าเริ่มต้น

แสดงแบรนด์ตลอดการนำเสนอโฆษณา

  • แสดงแบรนด์ตั้งแต่ต้นและนำเสนอต่อไปตลอดทั้งโฆษณาทุกครั้งที่ทำได้
  • แสดงแบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของแอป (ในวิดีโอ), ที่ด้านข้าง (ในโฆษณาแนวตั้ง) แสดงผ่านเสียงบ่งชี้ หรือทั้ง 3 แบบร่วมกัน

สร้างความหลากหลายและทดลอง

ทดลองสร้างวิดีโอโดยใช้ธีมต่างๆ (เช่น ธีมตลกขำขันเทียบกับเร้าอารมณ์) รูปแบบต่างๆ (เช่น อารมณ์จริงจังเทียบกับขบขัน) หรือหัวข้อต่างๆ (เช่น กรณีการใช้งานหรือประโยชน์ของแอปหนึ่งเทียบกับอีกแอปหนึ่ง) ซึ่งช่วยให้โฆษณามีโอกาสถูกใจกลุ่มเป้าหมายต่างๆ มากขึ้น

หมายเหตุ: เนื้อหาวิดีโอทั้งหมดจะแสดงจาก YouTube คุณจึงต้องอัปโหลดโดยตรงไปยังแพลตฟอร์มนี้จึงจะมีสิทธิ์คัดเลือก

ชิ้นงาน HTML5

การสร้างชิ้นงาน HTML5 อาจยุ่งยากและใช้ต้นทุนสูงกว่าชิ้นงานประเภทอื่นที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เราจึงขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้อัปโหลดชิ้นงานแบบข้อความ รูปภาพ และวิดีโอให้ครบจำนวนสูงสุดก่อนที่จะสร้างเป็นชิ้นงาน HTML5

ออกแบบโดยคำนึงถึงความสามารถของอุปกรณ์เคลื่อนที่

ชิ้นงาน HTML5 เป็นแบบอินเทอร์แอกทีฟ ดังนั้นคุณจึงควรคำนึงถึงความสามารถของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างถี่ถ้วนเพื่อให้การออกแบบออกมาดียิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้โต้ตอบกับโฆษณา HTML5 ผ่านทั้งการแตะ เลื่อน ลากและวาง บีบเพื่อซูม และเขย่า

ใส่คำอธิบายวิธีใช้

ผู้ชมไม่คาดหวังว่าโฆษณาจะเป็นแบบอินเทอร์แอกทีฟ ดังนั้นให้ใส่คำอธิบายวิธีใช้สั้นๆ ก่อนที่วิดีโอจะเริ่มเล่น โดยมีเป้าหมายให้ผู้ชมโต้ตอบตามที่ต้องการกับโฆษณาภายใน 3 หรือ 4 วินาที

ใส่สิ่งที่สื่อถึงแบรนด์ที่มองเห็นได้ชัดเจนตลอดทั้งโฆษณา

โลโก้แอปพร้อมปุ่ม "ติดตั้งเลย" หรือ "ดาวน์โหลดเลย" ควรจะแสดงอยู่ตลอดทั้งโฆษณาเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือและป้องกันการปฏิเสธ ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้จัดตำแหน่งทั้งสองปุ่มให้อยู่ติดกันที่แถบด้านบนสุด

ใส่คำบรรยายวิดีโอ

คุณควรเพิ่มคําบรรยายวิดีโอเนื่องจากชิ้นงานประเภท HTML5 ไม่มีวิดีโอหรือเสียง และคำบรรยายวิดีโอต้องอ่านออกได้อย่างชัดเจนบนหน้าจอขนาดต่างๆ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
แอป Google
เมนูหลัก
14485544837721639255
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
73067
false
false
false