ส่วนทั่วไป
ระดับคุณภาพอากาศคืออะไร
ประเทศหรือภูมิภาคต่างๆ มีการกำหนดดัชนีคุณภาพอากาศและจัดประเภทข้อมูลดิบเป็นสเกลการให้คะแนนอย่างละเอียด ดัชนีเหล่านี้ช่วยให้ระบุระดับของมลพิษและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น
แต่ละประเทศและภูมิภาคใช้สเกลที่ต่างกันในการรายงานคุณภาพอากาศที่อิงตามข้อพิจารณาด้านมลพิษและสุขภาพในพื้นที่ โดยมีการใช้ดัชนีในพื้นที่หลายสิบประเภททั่วโลก ตัวอย่างเช่น บางรัฐในออสเตรเลียใช้ระบบแบบตัวเลข ขณะที่รัฐอื่นๆ ใช้ระบบแบบหมวดหมู่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นกำหนดดัชนีคุณภาพอากาศของตนเอง เช่นเดียวกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป
เมื่อสถานการณ์มลพิษทางอากาศแย่ลง ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขก็เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชากรที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ตลอดจนประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ในช่วงที่คุณภาพอากาศไม่ดี โดยทั่วไปหน่วยงานรัฐบาลจะให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในอาคารและกลางแจ้ง
วิธีที่ระบบคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ
ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เป็นวิธีที่รัฐบาลต่างๆ ใช้เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศแก่ประชาชน โดยเป็นการแปลงระดับสารมลพิษต่างๆ ให้เป็นดัชนีเดียวในลักษณะที่เข้าใจง่าย
ความแตกต่างทั่วไประหว่างดัชนีมีดังนี้
- จำนวนและประเภทของสารมลพิษ: AQI ต่างๆ อิงตามสารมลพิษที่แตกต่างกัน
- สารมลพิษทั่วไปส่วนหนึ่งที่มีการติดตาม ได้แก่
- ฝุ่นละออง เช่น PM2.5 และ PM10
- โอโซน (O3)
- ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
- แต่ละประเทศและภูมิภาคจะวัดสารมลพิษที่ต่างกันเพื่อกำหนดดัชนีดังกล่าว เช่น
- AQI ของยุโรป รายงานเกี่ยวกับสารมลพิษ 6 ชนิดที่กล่าวถึงข้างต้น
- AQI ของอินเดีย รายงานเกี่ยวกับสารมลพิษข้างต้น รวมถึงแอมโมเนีย (NH3)
- สารมลพิษทั่วไปส่วนหนึ่งที่มีการติดตาม ได้แก่
- เวลาเฉลี่ย: แหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการหลายแห่งรายงานตามค่าที่อ่านได้โดยเฉลี่ยในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจอยู่ในช่วง 1-24 ชั่วโมง
- เกณฑ์ความเข้มข้นของสารมลพิษ: AQI จากแต่ละแห่งมีการตีความอันตรายจากความเข้มข้นของสารมลพิษในระดับต่างๆ ไม่เหมือนกัน
- สารมลพิษหลัก: AQI กําหนดสารมลพิษหลักโดยพิจารณาจากความเสี่ยงในการสัมผัส กล่าวคือ สารมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คนมากที่สุดในขณะนี้ และเนื่องจาก AQI มีการตีความอันตรายจากสารมลพิษแต่ละชนิดแตกต่างกัน คุณจึงอาจพบความแตกต่างได้ในส่วนของสารมลพิษหลัก
สารมลพิษกลางแจ้งที่พบได้บ่อยที่สุดและแหล่งที่มาของสารดังกล่าว
ดัชนีคุณภาพอากาศในพื้นที่จะอิงตามค่าสารมลพิษทางอากาศที่วัดได้ สารมลพิษกลางแจ้งที่วัดได้บ่อยที่สุด ได้แก่
- ฝุ่นละออง (PM): อนุภาคของแข็งขนาดเล็กและละอองฝอยที่พบในอากาศ PM10 และ PM2.5 คืออนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 10 ไมโครเมตรและ 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งเกิดจากรถยนต์ เตาเผาไม้ และอุตสาหกรรม ไฟไหม้และพายุฝุ่นอาจก่อให้เกิดฝุ่นละอองที่มีระดับความเข้มข้นสูงได้เช่นกัน
- ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2): ก๊าซและส่วนประกอบหลักของมลพิษทางอากาศใจกลางเมือง ซึ่งมาจากรถยนต์ อุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า และการทำความร้อนเป็นหลัก
- โอโซน (O3): ก๊าซที่พบในชั้นสตราโตสเฟียร์ ซึ่งช่วยปกป้องเราจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายและชั้นโทรโปสเฟียร์ โอโซนเป็นสารมลพิษอันตรายที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างแสงอาทิตย์ ก๊าซธรรมชาติ และไนโตรเจนออกไซด์จากแหล่งที่มาต่อไปนี้
- รถยนต์
- โรงไฟฟ้า
- แหล่งที่มาอื่นๆ
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2): ก๊าซพิษที่มีกลิ่นฉุนระคายเคือง อาจมาจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานผลิตซีเมนต์ และการปล่อยก๊าซของภูเขาไฟ
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO): ก๊าซจากรถยนต์หรือเครื่องจักรที่เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
สารมลพิษทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อมีระดับความเข้มข้นสูง ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก (WHO)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ
แม้ว่าการวัดจะมีความซับซ้อน แต่คุณภาพอากาศขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้
- สภาพอากาศ เช่น ความเร็วและทิศทางลม รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ และอื่นๆ
- ปริมาณการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
- ไฟป่าและไฟไหม้ประเภทอื่นๆ
- พายุฝุ่นและการปล่อยฝุ่นจากการเกษตร
- การปล่อยก๊าซจากอุตสาหกรรมและครัวเรือน
- การปล่อยก๊าซจากการจราจร
- กระบวนการอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศทางกายภาพและทางเคมี
โซลูชันตามสถานีโดยเฉพาะ
วิธีที่ระบบเลือกดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ใกล้คุณ
ระดับคุณภาพอากาศคำนวณจากค่าที่วัดได้โดยสถานีคุณภาพอากาศ เรามีแผนที่ของทุกสถานีในพื้นที่ไว้ให้คุณเพื่อให้เห็นภาพข้อมูลคุณภาพอากาศที่ครอบคลุมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณภาพอากาศระหว่างสถานีอาจแตกต่างกัน และระดับ AQI จากสถานีที่อยู่ใกล้กับคุณที่สุดอาจไม่ได้แสดงระดับ AQI ณ ตำแหน่งของคุณเสมอไป เพื่อไม่ให้สับสน เราจะแสดงมุมมองแผนที่เพื่อให้คุณเห็นระดับ AQI ของสถานีตรวจสอบรอบตัวคุณ
ข้อจำกัดด้านพื้นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์หลายอย่างของ Google นำเสนอค่าที่วัดได้จากสถานีตรวจสอบเพียงแห่งเดียว ในกรณีดังกล่าว ระบบจะเลือกค่า AQI ตามการวัดจากสถานีตรวจสอบที่ใกล้กับตำแหน่งของคุณมากที่สุด
สำคัญ
- ความเข้มข้นของสารมลพิษอาจแตกต่างกันไปในระยะทางใกล้ๆ และบางครั้งอาจทําให้ค่าคุณภาพอากาศที่อ่านได้ระหว่างตำแหน่งของคุณกับตําแหน่งของสถานีแตกต่างกันอย่างมาก
- ในบางกรณีการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศอาจมีความล่าช้าเล็กน้อย (12 ชั่วโมง) จากเหตุการณ์ที่คุณภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
- สถานีตรวจสอบแต่ละแห่งอาจวัดค่าสารมลพิษแค่บางชนิด ในบางกรณีความแตกต่างนี้อาจนำไปสู่ความคลาดเคลื่อนระหว่าง AQI ที่รายงาน (ซึ่งเป็นค่าเฉพาะของสถานีตรวจสอบแต่ละแห่งและแสดงให้เห็นถึงสารมลพิษที่วัด ณ สถานีตรวจสอบดังกล่าวเท่านั้น) กับคุณภาพอากาศที่แท้จริง
- ความคลาดเคลื่อนกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ ยังอาจเกิดจากค่าเฉลี่ยเชิงเวลาของ AQI โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นและสิ้นสุดเหตุการณ์ที่มีมลพิษสูง
กลุ่มควันหมายถึงอะไร
สำคัญ: แผนที่อาจแสดงควันของเมื่อวานขณะที่ระบบยังคงวิเคราะห์ควันของวันนี้อยู่ ในบางกรณี AQI อาจอยู่ในระดับที่ดีแม้จะมีกลุ่มควันก็ตาม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อกลุ่มควันไม่ลอยลงมาสู่พื้นดินและไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศที่วัดได้
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับควันในสหรัฐอเมริกาได้มาจากข้อมูลดาวเทียมของ NOAA ซึ่งมีอยู่ใน Google Search และ Maps
ข้อมูลดังกล่าวจะแสดงความหนาแน่นของควันระดับปานกลางและระดับสูง โดยจะแสดงกลุ่มควันบนแผนที่คุณภาพอากาศ หากมีข้อมูล
แหล่งข้อมูลคุณภาพอากาศ
เราแสดงข้อมูลของสถานีตรวจสอบจากแหล่งที่มาต่อไปนี้โดยตรงเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอากาศของ Google มีคุณภาพ
ออสเตรเลีย
- รัฐบาลออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
- หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) รัฐวิกทอเรีย
- หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
- รัฐบาลนิวเซาท์เวลส์
- หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี
- รัฐบาลควีนส์แลนด์
- รัฐบาลเวสเทิร์นออสเตรเลีย
บราซิล
ชิลี
อินเดีย
อิสราเอล
เม็กซิโก
สิงคโปร์
เกาหลีใต้
สหรัฐอเมริกา
โซลูชันตามโมเดลโดยเฉพาะ
การเลือกดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ใกล้คุณ
Google ใช้โมเดลคุณภาพอากาศเพื่อแสดงคุณภาพอากาศที่ตำแหน่งของคุณ
หากคุณกำลังดูคุณภาพอากาศในเมือง เช่น คุณค้นหา "สภาพอากาศในลอนดอน" ผลการอ่านคุณภาพอากาศอาจเป็นสถานที่ที่ไกลจากคุณ เช่น ใจกลางเมือง ซึ่งไม่ได้แสดงถึงสถานการณ์รอบตัวอย่างถูกต้องแม้ว่าจะอยู่ในเมืองเดียวกัน
วิธีรับ AQI สำหรับตำแหน่งของคุณ
- ลงชื่อเข้าใช้ Google Maps
- เลือกเลือกพื้นที่ที่ส่วนหัวสถานที่
-
เปลี่ยนตำแหน่งเพื่อใช้ตำแหน่งที่แน่นอน
แหล่งข้อมูลและความแม่นยำของโมเดลคุณภาพอากาศของ Google
เราใช้โมเดลคุณภาพอากาศที่อิงตามแนวทางแบบหลายเลเยอร์ซึ่งเรียกว่าแนวทางฟิวชัน แนวทางนี้รวมข้อมูลจากแหล่งที่มาของอินพุตต่างๆ และถ่วงน้ำหนักเลเยอร์อย่างซับซ้อน เลเยอร์อินพุต ได้แก่
- สถานีตรวจสอบอ้างอิงของภาครัฐ
- เครือข่ายเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์
- โมเดลการกระจายตัวของมลภาวะอากาศระดับโลกและภูมิภาค
- โมเดลควันไฟและฝุ่น
- ข้อมูลจากดาวเทียม
- ข้อมูลการจราจร
- ข้อมูลเสริม เช่น สิ่งปกคลุมดิน
- อุตุนิยมวิทยา
โมเดลของ Google แสดงดัชนีคุณภาพอากาศตามความเข้มข้นของสารมลพิษที่พบบ่อยที่สุดที่กล่าวถึงข้างต้น รวมถึงสาร NO, NOx และในบางกรณียังรวมถึงไฮโดรคาร์บอนที่ไม่ใช่มีเทน (NMHC) ด้วย โมเดลจะคำนวณโดยใช้พื้นที่กริดขนาด 500 ม. × 500 ม.
ข้อมูลสารมลพิษจากสถานีตรวจสอบของภาครัฐหรือสถานีตรวจสอบอ้างอิงคือเลเยอร์ฐานและเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้มากที่สุดในโมเดล โมเดลจะทำการรับประกันคุณภาพของข้อมูลที่วัดได้ซึ่งรวบรวมจากผู้ตรวจสอบทั่วโลกเพื่อนำค่าที่ผิดปกติออกและทำให้ข้อมูลมีคุณภาพสูง ในจุดที่เกิดความล่าช้าอย่างมากระหว่างเวลาที่วัดและเวลาที่เผยแพร่ อัลกอริทึมการพยากรณ์อากาศปัจจุบันจะคำนวณความเข้มข้นของสารมลพิษในชั่วโมงปัจจุบัน
ข้อจำกัดของโมเดล
แม้ว่าข้อมูลทุกเลเยอร์ที่โมเดลของ Google ใช้จะมีข้อผิดพลาดเชื่อมโยงอยู่ แต่แนวทางของเราลดข้อผิดพลาดโดยรวมลงได้อย่างมากเนื่องจากโมเดลทำการตรวจสอบไขว้ระหว่างแหล่งที่มาต่างๆ อย่างไรก็ตาม ทุกโมเดลมีข้อผิดพลาดที่อาจเป็นดังนี้
- ข้อมูลคุณภาพอากาศมีความล่าช้าเล็กน้อย (1-2 ชั่วโมง) ในบางกรณี
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่หนึ่งๆ เช่น บาร์บีคิว ไฟไหม้บ้าน ซึ่งโมเดลตรวจไม่พบ
- ในบางกรณีโมเดลอาจแสดงว่ามีควันอยู่ห่างจากตำแหน่งของคุณประมาณ 2-3 ไมล์
- ผู้ใช้อาจพบว่าข้อมูลคุณภาพอากาศในเม็กซิโกและแคนาดามีความล่าช้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีควันไฟ
ค่า AQI ที่แตกต่างกันของ Google และสถานีตรวจสอบ
ค่าดัชนีคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจสอบของภาครัฐและใน Google อาจแตกต่างกันเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
- สถานีของภาครัฐบางแห่งไม่ได้วัดสารมลพิษทุกชนิด
- ข้อมูลจากสถานีตรวจสอบของภาครัฐมักมีความล่าช้าในการรายงาน จึงอาจพลาดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศอย่างฉับพลัน
- สถานีตรวจสอบของภาครัฐวัดสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตำแหน่งของสถานีเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น โมเดลของ Google พิจารณาแหล่งข้อมูลหลายแห่งและคาดการณ์คุณภาพอากาศ ณ ตำแหน่งของสถานีแบบเรียลไทม์สำหรับสารมลพิษทั้ง 6 ชนิดต่อไปนี้
- โอโซนภาคพื้นดิน (O3)
- PM2.5
- PM10 เช่น ช่วงที่มีฝุ่น
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
- ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ที่ขนาดกริด 500 ม.
ตัวอย่าง 1: ในช่วงที่มีฝุ่น (PM10) สถานีตรวจสอบจะแสดงคุณภาพอากาศ "ดี" เนื่องจากวัดเฉพาะโอโซนภาคพื้นดิน (O3) แต่โมเดลของ Google จะแสดงคุณภาพอากาศ "ไม่ดี" เนื่องจากมี PM10 รวมอยู่ด้วย
ตัวอย่าง 2: สถานีตรวจสอบวัดสารมลพิษทั้งหมด Google และสถานีแสดงสารมลพิษหลักเดียวกัน เช่น โอโซน แต่ Google แสดงดัชนีคุณภาพอากาศ 200 ในขณะที่สถานีแสดง 150 กรณีนี้อาจเป็นเพราะโอโซนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน ค่าที่วัดได้เมื่อ 2 ชั่วโมงที่ผ่านมาจึงไม่ตรงกับการคาดการณ์แบบเรียลไทม์ของ Google
คุณภาพอากาศที่ Google แสดงไม่ตรงกับสิ่งที่เห็นในเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์ของฉัน (หรือที่ใกล้ที่สุด) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
จำนวนสารมลพิษที่รายงาน
เซ็นเซอร์ที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่จะรายงานเกี่ยวกับ PM2.5 และ PM10 เท่านั้น ในขณะที่ Google รายงานคุณภาพอากาศโดยระบุถึงสารมลพิษหลายชนิด ได้แก่ โอโซนภาคพื้นดิน (O3), PM2.5, PM10, คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่วัดอนุภาคขนาดใหญ่ได้ไม่ดีนัก ซึ่งหมายความว่าค่าการวัด PM10 อาจมีความน่าเชื่อถือต่ำมากเนื่องจากข้อจํากัดของวิธีการใช้แสงในเซ็นเซอร์เหล่านี้
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิที่สูงอาจส่งผลต่อค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์ชนิดใช้แสง
ตำแหน่งของเซ็นเซอร์ก็อาจมีผลอย่างมากต่อค่าที่อ่านได้เช่นกัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมลพิษที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ ซึ่งไม่ได้แสดงถึงพื้นที่บริเวณกว้าง
โมเดลของเราจะรวมค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์ รวมถึงระบุและนำการวัดที่ไม่ถูกต้องออก
กระบวนการแปลงค่าที่เกี่ยวข้อง
เซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์มักจะใช้วิธี "พิจารณาจากจำนวน" เพื่อวัด PM2.5 แต่รูปแบบมาตรฐานที่ใช้ในการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศคือ "พิจารณาจากมวล"
สถานีตรวจสอบของภาครัฐและโมเดลของ Google รายงานเป็น "มวลต่อปริมาณ" โดยค่าเริ่มต้น การแปลงนี้ต้องใช้ความหนาแน่นของอนุภาค เช่น ควันหรือฝุ่น ซึ่งอาจทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือตรวจสอบของภาครัฐและโมเดลของ Google
เวลาเฉลี่ย
ผู้ให้บริการเครือข่ายเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์แต่ละรายแสดงข้อมูลที่มีเวลาเฉลี่ยแตกต่างกันไป Google คำนวณความเข้มข้นของสารมลพิษและ AQI เป็นรายชั่วโมง AQI ของแต่ละประเทศก็มีเวลาเฉลี่ยของตัวเอง ซึ่งโดยปกติคือทุกชั่วโมงเป็นอย่างน้อย แต่ก็มีการใช้ช่วงเวลาหลายชั่วโมงบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มลพิษควันเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน คุณอาจเห็นการระบุว่าคุณภาพอากาศไม่ดีในเว็บไซต์ของผู้ให้บริการเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์โดยอิงตามค่าเฉลี่ย 10 นาที ส่วน Google แสดงค่าเฉลี่ยเป็นรายชั่วโมง (ซึ่งในกรณีนี้จะต่ำกว่าเนื่องจากช่วงหลายชั่วโมงที่ผ่านมายังมีมลพิษไม่มากเท่า) และค่า AQI อย่างเป็นทางการที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพนั้นอิงตามค่าเฉลี่ยที่นานยิ่งขึ้น
เคล็ดลับ: เครือข่ายเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์ไม่รวมอยู่ในโมเดลของเราและอาจแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป
ข้อมูลคุณภาพอากาศของ Google แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น
ดัชนีคุณภาพอากาศแตกต่างกัน
แต่ละประเทศและภูมิภาคใช้ดัชนีคุณภาพอากาศตามสเกลที่ต่างกันเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป หากต้องการเปรียบเทียบผู้ให้บริการ คุณต้องเปรียบเทียบรายงานที่ใช้ "รูปแบบการนำเสนอข้อมูลคุณภาพอากาศ" เดียวกัน
ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการบางรายใช้ AQI ของสหรัฐอเมริกาแบบรายชั่วโมง ส่วนบางรายใช้ AQI ของสหรัฐอเมริกาตามที่ตั้งค่าไว้ เช่น ค่าเฉลี่ย PM2.5 ในช่วง 24 ชั่วโมง หรือดัชนีของ AirNow
การรายงานและวิธีการวัดแตกต่างกัน
วิธีที่ผู้ให้บริการแต่ละรายวัดคุณภาพอากาศนั้นแตกต่างกันไป จึงส่งผลต่อผลลัพธ์สุดท้าย
ในบางกรณี ข้อมูลคุณภาพอากาศจะอิงตามผลการวัด ผู้ให้บริการบางรายใช้เซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์ ส่วนรายอื่นๆ ใช้โมเดล
Google รวมข้อมูลจากสถานีตรวจสอบทั่วโลกเข้ากับสิ่งต่อไปนี้
- ข้อมูลจากเซ็นเซอร์เชิงพาณิชย์
- ข้อมูลจากดาวเทียม
- รูปแบบสภาพอากาศ
- การรายงานสภาพการจราจร
- ไฟป่า
- ข้อมูลสิ่งปกคลุมดิน
ผู้ให้บริการแต่ละรายอาจมีการรวบรวมเชิงเวลาที่แตกต่างกันเมื่อรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ คุณจึงอาจเห็นว่าการรายงานค่าสารมลพิษหรือค่าดัชนีจากผู้ให้บริการรายต่างๆ ในสถานที่ตั้งเดียวกันมีความล่าช้า
มีสารมลพิษแต่ Google ระบุว่าคุณภาพอากาศดี
บางครั้งข้อมูลคุณภาพอากาศที่คุณเห็นใน Google อาจดูไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เห็นหรือได้กลิ่นรอบตัว โดยทั่วไปมีสาเหตุที่เป็นไปได้หลายประการดังนี้
- จมูกของคนเราไวต่อกลิ่นเป็นพิเศษ คุณอาจได้กลิ่นมลพิษบางประเภท เช่น ก๊าซจากควันในระดับความเข้มข้นต่ำมาก แม้ว่าคุณภาพอากาศจะถือว่าค่อนข้างปลอดภัยในแง่ของสุขภาพก็ตาม มลพิษทางอากาศที่เกิดจากสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) อาจสร้างกลิ่นที่สังเกตได้ แต่ไม่ได้วัดโดยสถานีตรวจสอบของภาครัฐหรือรวมไว้ในรายงานคุณภาพอากาศของเรา
- ควันที่ส่งผลต่อทัศนวิสัยมักมองเห็นในพื้นที่สูง แม้จะตรวจไม่พบที่ระดับพื้นดินก็ตาม
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อจำกัดของโมเดลของ Google
Google ระบุว่าคุณภาพอากาศไม่ดี แต่อากาศดูปลอดโปร่ง
แม้ว่าคนเราจะมองเห็นมลภาวะบางประเภท เช่น พายุฝุ่นหรือควันจากไฟป่า แต่มลพิษทางอากาศจำนวนมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า นี่เป็นลักษณะพื้นฐานอย่างหนึ่งของมลพิษทางอากาศที่แตกต่างจากสภาพอากาศ ซึ่งเพียงมองออกไปด้านนอกก็ทราบแล้วว่ามีแดด ฝนตก หรือลมแรงไหม
ตัวอย่างเช่น โอโซนในชั้นบรรยากาศโลกหรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ "วันที่สวยงาม" ซึ่งก่อตัวได้โดยอาศัยแสงแดด สามารถเกิดขึ้นในที่สูง เช่น บนยอดเขา หรือในวันที่อากาศดีและมีแดดจัด
อีกเหตุผลหนึ่งคือข้อจํากัดของโมเดลตามที่อธิบายไว้ในความช่วยเหลือเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
Google รายงานแตกต่างจาก AirNow ของสหรัฐอเมริกา
แหล่งข้อมูลคุณภาพอากาศอย่างเป็นทางการ 2 แห่งที่ได้รับความนิยมที่สุดในสหรัฐอเมริกาคือเว็บไซต์หลักของ AirNow และแผนที่ไฟและควันของ AirNow
ความแตกต่างที่สำคัญบางประการระหว่างรายงานคุณภาพอากาศของ AirNow กับ Google มีดังนี้
- จำนวนสารมลพิษที่ตรวจสอบ: Google ยึดตาม EPA สหรัฐอเมริกาและครอบคลุมสารมลพิษมากกว่าที่ AirNow แสดงในเว็บไซต์
- Google ใช้แหล่งข้อมูลมากกว่า
- Google รายงานข้อมูลแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่ ส่วน AirNow รายงานค่าที่แย่ที่สุดในพื้นที่
- Google และ AirNow ใช้ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่แตกต่างกัน
AirNow | แผนที่ไฟและควันของ AirNow | ||
แหล่งข้อมูลและวิธีการ |
สถานีตรวจสอบและโมเดลการประมาณค่าในช่วงตามค่าที่แย่ที่สุดในภูมิภาค |
|
อินพุตและโมเดลที่หลากหลาย รวมถึงอัลกอริทึมการคาดการณ์เชิงเวลาและพื้นที่รูปแบบต่างๆ
|
สารมลพิษที่ตรวจสอบ |
|
ฝุ่นละออง (PM2.5) |
|
สหรัฐอเมริกามีการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อย่างเป็นทางการ 2 วิธี ได้แก่
- AQI ของ EPA สหรัฐอเมริกาคำนวณปริมาณการสัมผัสกับสารมลพิษ 6 ชนิดในรอบระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ดูตารางด้านล่าง
- การพยากรณ์อากาศปัจจุบัน ซึ่งใช้ในการประมาณ AQI รายวันที่สมบูรณ์ในชั่วโมงหนึ่งๆ ฟีเจอร์นี้จะแสดงสภาพอากาศปัจจุบันเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้คนลดกิจกรรมและการอยู่กลางแจ้งเมื่อจำเป็น รวมทั้งปกป้องสุขภาพของตน การพยากรณ์อากาศปัจจุบันช่วยให้แผนที่สภาพอากาศปัจจุบันสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้คนเห็นหรือประสบจริงมากขึ้น โดยจะใช้เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอโซน, PM2.5 และ PM10 อย่างทันท่วงทียิ่งขึ้น
Google จะรวมดัชนี 2 รายการข้างต้นเข้าด้วยกันเมื่อรายงาน AQI ในสหรัฐอเมริกา
การเปรียบเทียบ AQI อย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกากับ Google
ด้านล่างนี้เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการรายงาน AQI แบบต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาเพื่อให้คุณใช้ในการเปรียบเทียบ
AQI ของสหรัฐอเมริกา | การพยากรณ์อากาศปัจจุบันจาก AirNow | AQI ของสหรัฐอเมริกาแบบผสมที่ Google รายงาน | |
จำนวนสารมลพิษ |
สารมลพิษ 6 ชนิด
|
สารมลพิษ 3 ชนิด
|
สารมลพิษ 6 ชนิด
|
ระยะเวลาที่พิจารณา |
ระยะเวลาเฉลี่ยที่ครอบคลุมขึ้นอยู่กับสารมลพิษแต่ละชนิด เช่น ปริมาณโอโซนจะคํานวณจากระดับการสัมผัสเฉลี่ยในช่วง 8 ชั่วโมงและช่วงการสัมผัสในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ระบบรายงาน PM2.5 ตามค่าเฉลี่ยการสัมผัสในช่วง 24 ชั่วโมง |
วิธีหาค่าเฉลี่ยของการพยากรณ์อากาศปัจจุบันจาก AirNow ให้น้ำหนักกับชั่วโมงล่าสุดมากกว่า เพื่อให้แสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับมลพิษทางอากาศอย่างฉับพลันจากควันไฟป่าหรือพายุฝุ่นได้ดียิ่งขึ้น ระยะเวลาเฉลี่ยสั้นกว่าเมื่อเทียบกับ AQI ของสหรัฐอเมริกา เช่น พิจารณาจากช่วงเวลา 12 ชั่วโมงล่าสุด |
Google ใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยของการพยากรณ์อากาศปัจจุบันจาก AirNow สำหรับฝุ่นละออง (PM10 และ PM2.5) ซึ่งให้น้ำหนักกับช่วงเวลาล่าสุดและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันมากกว่า อย่างไรก็ตาม เรารายงานเกี่ยวกับสารมลพิษมากกว่าเมื่อเทียบกับการพยากรณ์อากาศปัจจุบัน กล่าวคือ Google นำค่าเฉลี่ยของสารมลพิษอื่นๆ ซึ่งได้แก่ O3, NO2, SO2 และ CO มาคำนวณแล้วแปลงค่านี้เป็นรูปแบบ AQI ของสหรัฐอเมริกา |
แหล่งข้อมูลคุณภาพอากาศ
แหล่งที่เรารวบรวมข้อมูลสำหรับโมเดลคุณภาพอากาศของ Google มีดังนี้
แหล่งข้อมูลทั่วโลก
- ข้อมูลเซ็นเซอร์ต้นทุนต่ำจาก PurpleAir
- ข้อมูลที่ปรับแก้แล้วจากหน่วยบริการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัส
- ข้อมูลที่ปรับแก้แล้วเกี่ยวกับสิ่งปกคลุมดินทั่วโลกจากหน่วยบริการโคเปอร์นิคัส
- ข้อมูลภาครัฐที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูลภาครัฐแบบเปิด v3.0 จาก Met Office
- ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรปภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-2.5 DK
เบลเยียม
- ข้อมูลจาก IRCEL - CELINE ที่ปรับแก้แล้ว ใบอนุญาต
แคนาดา
- ข้อมูลจากรัฐบาลแมนิโทบาซึ่งได้รับอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูลจาก OpenMB (Manitoba.ca/OpenMB)
- ข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูลภาครัฐแบบเปิด – ออนแทรีโอ เวอร์ชัน 1.0
เดนมาร์ก
- DCE - ศูนย์สิ่งแวดล้อมและพลังงานแห่งชาติ เป็นข้อมูลดิบที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพ
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
- Pays de la Loire: ข้อมูลมีแหล่งที่มาจาก Air Pays de la Loire
- Geo D'Air.
เยอรมนี
- มีข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมของเยอรมนีที่ปรับแก้แล้ว มีการเปลี่ยนแปลง
เกิร์นซีย์
- © Crown 2023 copyright Defra ผ่าน uk-air.defra.gov.uk
อิตาลี
- Regione del Veneto ใบอนุญาต
ไอร์แลนด์
- สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA): https://epa.ie/ https://airquality.ie/.
- ใบอนุญาต
ญี่ปุ่น
- ข้อมูลจาก Soramame ที่ปรับแก้แล้ว
เม็กซิโก
- ข้อมูลคุณภาพอากาศที่เผยแพร่โดยสำนักเลขาธิการสิ่งแวดล้อมแห่งรัฐบาลเม็กซิโกซิตีจัดทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากเครือข่ายตรวจสอบบรรยากาศและสถานีตรวจสอบในเขตมหานครของหุบเขาเม็กซิโก ซึ่งดำเนินการและจัดการโดยกองอำนวยการตรวจสอบคุณภาพอากาศของกองอำนวยการทั่วไปด้านคุณภาพอากาศ (SEDEMA) ข้อมูลนี้เผยแพร่ต่อสาธารณะและขึ้นอยู่กับกระบวนการด้านคุณภาพที่อาจแก้ไขข้อมูลนี้ได้ การเผยแพร่หรือการใช้ข้อมูลนี้โดยบุคคลที่สามอยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลที่เผยแพร่หรือใช้ข้อมูล
- SINAICA ที่ https://sinaica.inecc.gob.mx/ มีการเปลี่ยนแปลง
สเปน
- MeteoGalicia และกระทรวงสิ่งแวดล้อม เขตแดน และที่อยู่อาศัยของ Xunta de Galicia
- Madrid Comunidad
- ข้อมูลจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมภายใต้สัญญาอนุญาต CC BY 4.0
สวีเดน
- มีข้อมูลจาก SMHI ที่ปรับแก้แล้ว
สหราชอาณาจักร
- © Crown 2023 copyright Defra ผ่าน uk-air.defra.gov.uk
- มีข้อมูลจาก LondonAir ใบอนุญาต
- Northern Ireland Air
สหรัฐอเมริกา
- TCEQ แห่งเท็กซัส
- รัฐนิวยอร์ก กรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: ข้อมูลที่แสดงที่นี่รวมข้อมูลที่ได้จาก http://nyaqinow.net ซึ่งเป็นข้อมูลขั้นต้นและอาจมีการเปลี่ยนแปลง