ประเมินข้อมูลที่คุณค้นพบด้วย Google

ข้อมูลออนไลน์มีอยู่เป็นจํานวนมาก และการประเมินเนื้อหาที่พบอาจทำได้ยาก คุณสามารถใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาที่พบทางออนไลน์ได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มา

เมื่อค้นพบข้อมูลออนไลน์ คุณใช้ Google เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาได้ สิ่งที่ควรพิจารณามีดังนี้

  • แหล่งที่มาคือที่ใด
  • แหล่งที่มามีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ หรือไม่
  • เหตุใดแหล่งที่มาจึงแชร์ข้อมูลดังกล่าว

ใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการประเมินแหล่งที่มา 

ดูว่าผู้อื่นพูดถึงแหล่งที่มาว่าอย่างไร

ขณะค้นหาข้อมูล ให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของผลการค้นหาที่คุณไม่คุ้นเคยหรือต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติม โดยอาจใช้ฟีเจอร์ "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้" หรือใช้วิธีค้นหา -site

สำคัญ: ฟีเจอร์ "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้" มีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้" ช่วยคุณประเมินสิ่งต่อไปนี้ได้

  • สารานุกรมออนไลน์คุณภาพสูงพูดถึงแหล่งที่มาอย่างไร
  • แหล่งที่มาอธิบายตนเองอย่างไร
  • เว็บไซต์อื่นๆ กล่าวถึงแหล่งที่มาอย่างไร

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาโดยใช้ฟีเจอร์ "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้"

นอกจากนี้ คุณยังค้นหาด้วย -site ได้อีกด้วย ตัวเลือกการค้นหานี้จะนําหน้าต่างๆ จากเว็บไซต์ของแหล่งที่มาออกจากผลการค้นหา เช่น หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์การอนามัยโลกจากแหล่งที่มาอื่นๆ ให้ค้นหาด้วย องค์การอนามัยโลก -site:who.int

เคล็ดลับ: บางครั้งคุณอาจไม่ได้รับผลการค้นหามากนักเมื่อค้นหาแหล่งที่มาหนึ่งๆ นั่นอาจหมายความว่าแหล่งที่มายังใหม่ ไม่เป็นที่รู้จัก หรือไม่มีการเขียนถึงมากนัก

ค้นหาผู้เขียน

ค้นหาผู้เขียนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องใน Google เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเนื้อหา คุณอาจได้รู้ว่าผู้เขียนหรือองค์กรเขียนเกี่ยวกับอะไรอีก หรือผู้อื่นพูดถึงผู้เขียนหรือองค์กรนี้ว่าอย่างไร คุณทำสิ่งต่อไปนี้ได้ในการค้นหา

  • ประเมินความน่าเชื่อถือหรือความเชี่ยวชาญของผู้เขียนและองค์กร
  • ใช้แหล่งข้อมูลอย่างสารานุกรมออนไลน์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม และหาแหล่งที่มาอื่นๆ เสริม
  • ตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียของผู้เขียนและองค์กรเพื่อดูว่าโพสต์อะไรบ้าง
ดูข้อมูลจากวันที่เผยแพร่

คุณสามารถประเมินความเกี่ยวข้องของเนื้อหาหนึ่งๆ ได้โดยอิงตามวันที่เผยแพร่ (หากมี) สิ่งที่ควรพิจารณามีดังนี้

  • ข้อมูลเก่าอาจไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป 
  • ในบางครั้ง เวลาก็ช่วยปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลที่มีบนเว็บ แหล่งที่มาอาจใช้เวลาในการเผยแพร่ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับเหตุการณ์และหัวข้อล่าสุด เช่น ความเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์

เมื่อคุณค้นหา ระบบของ Google อาจแสดงวันที่อัปเดตหรือวันที่เผยแพร่โดยประมาณไว้ข้างๆ ผลการค้นหาบางรายการ ลิงก์ "ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้านี้" ที่อยู่ในส่วน "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้" จะแสดงวันที่ที่ Google จัดทำดัชนีเว็บไซต์เป็นครั้งแรกด้วย คุณใช้วันที่เหล่านี้เพื่อประเมินความเกี่ยวข้องและความน่าเชื่อถือได้

ค้นหาแผงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มา

ข้างๆ ผลการค้นหาบางรายการจะมีแผงข้อมูลที่ให้รายละเอียดว่าข้อมูลมาจากไหน

  • สำหรับบางหัวข้อ เช่น หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ คุณอาจเห็นแผงข้อมูลที่มีบริบทเกี่ยวกับแหล่งที่มาที่จะช่วยให้คุณรู้ว่าเนื้อหานั้นมาจากไหน
  • แผงข้อมูลอาจอธิบายว่าเนื้อหาได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากไหน เช่น ทุนรัฐบาลหรือทุนสาธารณะ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปภาพ

ส่วน "เกี่ยวกับรูปภาพ" มีข้อมูลเกี่ยวกับรูปภาพในหน้าเว็บ โดยจะแสดงเวลาที่ Google เห็นรูปภาพเป็นครั้งแรก พร้อมลิงก์ไปยัง "หน้าเกี่ยวกับรูปภาพ" ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปภาพ

ดูว่าผู้อื่นพูดถึงหัวข้อหนึ่งๆ ว่าอย่างไร

หลังจากประเมินแหล่งที่มาแล้ว คุณยังสามารถประเมินได้ด้วยว่าแหล่งที่มาอื่นพูดถึงหัวข้อนั้นๆ อย่างไร เพื่อพิจารณาว่าข้อมูลนั้นเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น บางเว็บไซต์คัดลอกข้อมูลมาและไม่ได้ตรวจสอบด้วยตัวเอง และแชร์ข้อมูลที่อาจเป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิด ใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการประเมินหัวข้อ

ดูว่าผู้อื่นพูดถึงหัวข้อว่าอย่างไร

มีเครื่องมือและฟีเจอร์ใน Search ที่ช่วยบอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์ "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้" จะช่วยคุณทำสิ่งต่อไปนี้ได้

  • ดูว่าแหล่งที่มาอื่นพูดถึงหัวข้อหนึ่งๆ ว่าอย่างไร
  • ค้นหาการรายงานข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อโดยใช้ฟีเจอร์ "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้"

ค้นหาหัวข้อโดยใช้วิธีอื่นๆ

หากไม่พบเนื้อหาที่ต้องการ ให้ค้นหาหัวข้อด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย โดยสิ่งที่คุณควรพิจารณามีดังนี้

  • เริ่มต้นด้วยการค้นหาทั่วไปแล้วค่อยค้นหาอย่างเจาะจงมากขึ้น
  • ใช้คําที่เป็นกลาง เช่น ค้นหาแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่ใช่ค้นหาว่าแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ดีไหม
  • ใช้ฟีเจอร์ "เกี่ยวกับผลการค้นหานี้" เพื่อตรวจสอบว่าข้อความค้นหาใดปรากฏในผลการค้นหาแต่ละรายการ (เช่น "แมว" และ "ดี" กับ "แมว" และ "ไม่ดี")
  • ลองใช้ข้อความค้นหาอื่น
  • หากลองค้นหาเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่งๆ หลายครั้งแล้วและไม่ได้รับผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากนัก อาจเป็นไปได้ว่าหัวข้อใหม่เกินไปหรือยังไม่มีการเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนั้นมากนัก คุณอาจต้องรอและค่อยลองค้นหาอีกครั้งในภายหลัง
  • สำรวจผลการค้นหาจากหลายแหล่งข้อมูล ไม่ใช่แค่ผลการค้นหายอดนิยม
ตรวจสอบแหล่งข่าวเพื่อดูข้อมูลล่าสุด

ดูว่ามีแหล่งข่าวใดบ้างที่พูดถึงหัวข้อหนึ่งๆ Google ให้ความสำคัญอันดับแรกกับผลการค้นหาข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และมาจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณค้นพบผลการค้นหาที่เป็นประโยชน์ได้เร็วขึ้น คุณสามารถใช้แหล่งข่าวเพื่อยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อได้ ลองทำตามเคล็ดลับเหล่านี้

  • เลือกข่าวใต้แถบค้นหาในการค้นหาของ Google เพื่อช่วยหาบทความข่าวที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ
  • เลือกรวมเรื่องราวจากทุกช่องทางใน Google News เพื่อช่วยในการค้นหาเนื้อหาและความเป็นมาจากช่องทางข่าวสารเพิ่มเติม
  • นอกจากนี้คุณยังอาจพบบทความแสดงความคิดเห็นที่นำเสนอมุมมองของผู้เขียนเกี่ยวกับประเด็นหนึ่งๆ อีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะมีป้าย "ความคิดเห็น" กำกับไว้สำหรับบทความที่เป็นความคิดเห็น
  • ใช้ฟีเจอร์ "เรื่องเด่น" ใน Google Search เมื่อ Google ตรวจพบว่าคำค้นหานั้นค่อนไปทางหัวข้อข่าว ระบบจะจับคู่และแสดงผลการค้นหาเป็นเนื้อหาข่าวที่เกี่ยวข้องและมีคุณภาพ
ใช้การตรวจสอบข้อเท็จจริง

บางหัวข้อมีการแสดงข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากองค์กรอิสระ ในผลิตภัณฑ์ของ Google หากหัวข้อหนึ่งๆ มีบทความที่เกี่ยวข้องจากผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง คุณอาจเห็นตัวอย่างข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือแผงข้อมูล นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหาเนื้อหาจากผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้พบข้อมูลที่เชื่อถือได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Google

ค้นหาแผงข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ

ในบางผลิตภัณฑ์ของ Google คุณจะเห็นแผงข้อมูลที่มีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อ แผงข้อมูลอาจแสดงรายละเอียดต่อไปนี้

  • หัวข้อที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา
  • ลิงก์ไปยังการตรวจสอบข้อเท็จจริงขององค์กรอิสระ
  • ลิงก์ไปยังบทความอ้างอิง

เกี่ยวกับข้อมูลในบทความนี้

เคล็ดลับเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากแหล่งที่มาต่อไปนี้

  • หลักสูตร Civic Online Reasoning (COR) ที่พัฒนาโดย Stanford History Education Group
  • เฟรมเวิร์ก SIFT ที่พัฒนาโดย Mike Caulfield
  • เฟรมเวิร์ก Digital Image Guide (DIG) ที่พัฒนาโดย Dana Thompson

แหล่งที่มาดังกล่าวเสนอกลยุทธ์เกี่ยวกับการค้นหาแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ การตรวจหาข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และการหาหลักฐานเพื่อพิจารณาว่าการกล่าวอ้างที่คุณพบทางออนไลน์นั้นเชื่อได้หรือไม่ได้ Google ทำการค้นคว้าและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้คำแนะนำในหน้านี้มีประโยชน์มากขึ้น

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร

หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

true
ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
แอป Google
เมนูหลัก
4812944585193624428
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
100334
false
false