แผงข้อมูลจะแสดงบริบทเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิดีโอบน YouTube คุณจะเห็นข้อมูลประเภทต่างๆ จากแหล่งข้อมูลของบุคคลที่สาม เช่น ลิงก์ไปยังบทความการตรวจสอบข้อเท็จจริงในผลการค้นหา แผงข้อมูลนี้มีไว้เพื่อช่วยให้คุณมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจเกี่ยวกับวิดีโอที่ดูบน YouTube
แผงข้อมูลพร้อมให้บริการในบางประเทศ/ภูมิภาคและบางภาษาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เรากำลังขยายการให้บริการนี้ไปยังประเทศ/ภูมิภาคอื่นๆ เพิ่มเติม
การตรวจสอบข้อเท็จจริงในผลการค้นหาของ YouTube
เมื่อค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวอ้างที่เฉพาะเจาะจงซึ่งผู้เผยแพร่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วใน YouTube บางครั้งคุณจะเห็นแผงข้อมูลที่ระบุว่า "การตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระ" พร้อมด้วยข้อมูลต่อไปนี้
- ชื่อของผู้เผยแพร่ที่ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง
- การกล่าวอ้างที่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริง*
- ตัวอย่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่พบของผู้เผยแพร่
- ลิงก์ไปยังบทความของผู้เผยแพร่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
- ข้อมูลวันที่เผยแพร่บทความการตรวจสอบข้อเท็จจริง
*ในบางประเทศ แผงข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริงอาจไม่แสดงองค์ประกอบเหล่านี้ทั้งหมด
หากมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องจากผู้เผยแพร่บางราย คุณจะเห็นผลลัพธ์บางรายการ
ทำไมฉันจึงไม่เห็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงในผลการค้นหาของ YouTube
ฉันจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงในผลการค้นหาของ YouTube ได้อย่างไร
YouTube ไม่ได้ให้การรับรองหรือสร้างการตรวจสอบข้อเท็จจริงใดๆ ที่แสดงในแผงข้อมูลบน YouTube เราพยายามอยู่เสมอที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์และผลการค้นหา คุณส่งความคิดเห็นได้โดยใช้เมนู 3 จุดในแผงข้อมูลโดยเลือกเพิ่มเติม ในแผง
มีใครบ้างที่เผยแพร่การตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏใน YouTube Search ได้
บทความการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่แสดงบน YouTube ใช้มาร์กอัป ClaimReview ของ Schema.org ที่เผยแพร่แบบสาธารณะ และผู้เผยแพร่จะมีสิทธิ์เข้าร่วมหากมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นผู้ลงนามในชุดหลักการของเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติ (International Fact-Checking Network) ที่ได้รับการยืนยัน หรือเป็นผู้เผยแพร่ที่เชื่อถือได้
และ
- เว็บไซต์ของผู้เผยแพร่มีหลายหน้าที่ใช้มาร์กอัป ClaimReview หากคุณเป็นผู้เผยแพร่ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเพิ่ม Structured Data ไปยังหน้าเว็บ
เราจะตรวจสอบผู้เผยแพร่และการตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้เผยแพร่เป็นประจำเพื่อให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
- มีบทความการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของชุมชน YouTube
- มีบทความการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ Structured Data ของ ClaimReview
- มีบทความการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวอ้างที่แตกต่างกันและการจัดประเภทที่ชัดเจนซึ่งระบุไว้อย่างเด่นชัดในเนื้อหาของบทความ
- แหล่งข้อมูลและวิธีการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีลักษณะดังนี้
- ตรวจสอบย้อนกลับได้
- โปร่งใส
- มีการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลหลัก
หากบทความหรือผู้เผยแพร่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ บทความอาจไม่มีสิทธิ์ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริง นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าผู้เผยแพร่อาจไม่สามารถแสดงการตรวจสอบข้อเท็จจริงบน YouTube ได้อีกต่อไป
ระบุผู้เผยแพร่ที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
เมื่อรับชมวิดีโอ YouTube จากผู้เผยแพร่ที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง คุณอาจเห็นแผงข้อมูลที่ให้บริบทเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลใต้วิดีโอ
แผงข้อมูลนี้จะปรากฏในช่องของผู้ลงนามที่ได้รับการยืนยันของเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงนานาชาติ (IFCN) หรือเครือข่ายมาตรฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริงแห่งยุโรป (EFCSN) ที่อัปโหลดวิดีโอบน YouTube อยู่เป็นประจำ คุณอาจไม่เห็นแผงข้อมูลนี้ในช่องของผู้เผยแพร่ที่เป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสมอไป รวมถึงในกรณีที่ช่องมีแผงข้อมูลผู้เผยแพร่เนื้อหารายอื่นแทน
การใส่แผงข้อมูลผู้เผยแพร่เนื้อหานั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้เผยแพร่เนื้อหาที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นสมาชิกที่ได้รับการยืนยันของ IFCN หรือ EFCSN หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ความคิดเห็นจาก YouTube ตามแนวทางด้านบรรณาธิการของผู้เผยแพร่หรือวิดีโอ